เรื่องราวของครอบครัว “มณีวรรณ์” เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน และน่าชื่นใจว่า บทบาทของพ่อแม่มีผลต่อการพัฒนาทักษะสมอง EF ของลูกอย่างมาก
อุทัยและศิริเพ็ญ มณีวรรณ์ ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ กลับมาสร้างครอบครัวเล็กๆ อยู่ด้วยกันที่บ้านเกิด อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง แม้อาชีพเกษตรกรจะทำให้พวกเขาต้องทำงานหนักมากขึ้น แต่ลูกๆ ทั้ง 3 คน ก็ไม่เคยขาดความรักความอบอุ่นจากพ่อและแม่เลย เวลาที่เหลือจากการทำงาน พวกเขาจะทุ่มเทให้กับลูกๆ เสมอ ทุกๆ เย็น ครอบครัวจะต้องกินข้าวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา มีปัญหาสามารถพูดคุยปรึกษากันได้ทุกเมื่อ

อุทัยได้มีโอกาสไปเรียนรู้เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF เมื่อ 3 ปีก่อน ทำให้เขายิ่งมั่นใจว่าแนวทางในการดูลูกๆ ของเขานั้น มาถูกทางแล้ว นอกจากนี้เขานำแนวทางใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้ กลับมาใช้อย่างเป็นประโยชน์ ที่สำคัญคือพ่อและแม่จะเป็นต้องแบบอย่างที่ดีให้กับลูกๆ เช่น การออม การทำงานบ้าน การออกกำลังกาย รวมถึงการอ่านหนังสือ ซึ่งที่บ้านจะมีมุมหนังสือไว้ตามที่ต่างๆ เพื่อให้ลูกๆ สามารถหยิบอ่านได้ทุกเมื่อ รวมถึงเพื่อนๆ ของลูกก็สามารถมานั่งล้อมวงทำกิจกรรมอ่านหนังสือ ทำการบ้าน หรือวาดรูปได้ และในวันหยุดเขามักจะพาลูกๆ ไปช่วยทำงานในไร่ เพื่อให้ลูกๆ ได้เรียนรู้การทำงานของพ่อแม่อีก

การที่ครอบครัวได้มี “เวลาคุณภาพ” ร่วมกัน นอกจากจะช่วยสร้างความรักความผูกพันแล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะ EF ของลูกด้วยเด็กเรียนรู้ได้จากทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะจากประสบการณ์ที่มีความหมายต่อเขา ประสบการณ์ที่มีความสุขจากการได้อยู่กับพ่อแม่ที่อบอุ่น และการเห็นพ่อแม่เป็นแบบอย่าง การให้พ่อแม่ได้โอกาสเรียนรู้ EF คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการพัฒนาคนคุณภาพของประเทศชาติ

ตอนอื่นๆ

เนื้อหาใกล้เคียง