หลังโรงโขนไทย พาไปดูให้รู้ ตอนที่ 10 โขนรุ่นจิ๋ว สานต่อวิถีแห่งนาฎกรรม มรดกของไทย
โขนไทย” กลายเป็นอีกองค์ประกอบที่สามารถใช้เป็นดัชนีวัดความรุ่งเรืองของเราจากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย อีกทั้ง ยูเนสโก ประกาศขึ้นบัญชี ‘Khon, masked dance drama in Thailand’ (การแสดงโขนในประเทศไทย) เป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ อย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้นการนำ โขน ซึ่งเป็นศิลปะชั้นสูงของราชสำนักเผยแพร่ไปสู่ประชาชนทุกคนที่ล้วนเข้าถึงและสัมผัสได้ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน และยังสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน เริ่มตั้งแต่ การร่วมเป็นผู้ชม การร่วมจัดแสดง และการปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่ร่วมเรียนรู้ สืบทอด “โขน” ด้วยความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทย
วันนี้น้องๆ ทั้ง 3 คน จะพาไปเจาะลึกทำความรู้จักโขนรุ่นจิ๋ว ผู้สานต่อศิลปวัฒนธรรมไทยอันทรงคุณค่าให้คงอยู่สืบต่อไปครับ
โครงการ “หลังโรงโขนไทย พาไปดูให้รู้” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ Content เผยแพร่ลงบนสื่อดิจิทัล ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับโขนไทยที่มีความเข้าใจง่าย เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ สามารถเข้าถึงแก่นของการแสดงโขน ศิลปวัฒนธรรมศาสตร์และศิลป์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนาฎศิลป์ชั้นสูงซึ่งเป็นมรดกของชาติ
เนื้อหาใกล้เคียง
The Blind Art Project ระบายอนาคต (น้ำมนต์ อัญชนา) EP. 1/3
สัมมาทิฏฐิ ทะลุมิติมายา ตอนที่ 48 : อุปาทาน (1)
นวัตกรทางการสื่อสาร: มุมมองของนักสร้างสรรค์ คอนเทนต์ ต่อสังคมการสื่อสารในปัจจุบัน
ท่องถึงถิ่น เที่ยวฟินวัฒนธรรม: ชุมชนบ้านสามช่องเหนือ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา EP. 1/3
The Blind Art Project ศิลปะฟื้นชีวิต (โม ธนพล) EP. 1/3
เคล็ดลับนายคำรวย: ภาษามือ
สัมมาทิฏฐิ ทะลุมิติมายา ตอนที่ 9 : กาเมสุมิจฉาจาร (1)
ท่องถึงถิ่น เที่ยวฟินวัฒนธรรม: ชุมชนไทลื้อ บ้านลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ EP. 1/3
นวัตกรทางการสื่อสาร: VDO Storytelling
นวัตกรทางการสื่อสาร: VDO Storytelling