นโยบายความเป็นส่วนตัว


ข้าพเจ้าในฐานะผู้ใช้งานระบบ ได้อ่านและทราบถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์(ต่อไปนี้เรียกว่า “พปส.”) จะดำเนินการ เก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

๑. ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน พปส. จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยการขอหรือสอบถามข้อมูลเหล่านั้นจากท่านเองโดยตรง ทั้งนี้ พปส. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านดังต่อไปนี้
๑.๑. ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป
(๑.) ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตน (Identity Data) เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง วันเดือนปี เกิด เพศ อายุ สัญชาติ ภาพถ่าย เลขประจำตัวใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รหัสพนักงาน ข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์ เป็นต้น
(๒.) ข้อมูลติดต่อ (Contact Data) ได้แก่ ที่อยู่ สำเนาทะเบียนบ้าน เบอร์โทรศัพท์ เบอร์โทรสาร อีเมล ผู้ติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉินบัญชีการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ LINE ID
๑.๒ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
พปส.ไม่มีความประสงค์จะเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ใดโดยเฉพาะ หากท่านได้มอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พปส. ขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าว หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านยินยอมเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
ในกรณีที่ พปส.จำเป็นจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อนของท่าน พปส. จะขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านเป็นกรณีไป

๒. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
พปส. จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้งานระบบ

๓. การเปิดเผยข้อมูล
ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในหนังสือฉบับนี้ พปส. อาจเปิดเผยข้อมูลของท่านให้แก่บุคคลภายนอก ดังต่อไปนี้
๓.๑. หน่วยงานราชการ หน่วยงานกำกับดูแล รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ องค์การมหาชน องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือหน่วยงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงเจ้าพนักงานซึ่งใช้อำนาจหรือปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย เช่น ศาล ตำรวจ กรมสรรพากร สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น
๓.๒ หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิเรียกร้อง การดำเนินคดี การโต้แย้งข้อร้องเรียนหรือข้อกล่าวหา การต่อสู้คดี ของ พปส. เช่น คู่ความในคดี พยาน เป็นต้น
๓.๓ ตัวแทน ผู้รับจ้าง/ผู้รับจ้างช่วง และ/หรือผู้ให้บริการสำหรับการดำเนินงานใด ๆ ให้แก่ พปส. เช่น ที่ปรึกษาทางวิชาชีพ ผู้รับจ้างประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
๓.๔ ผู้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ(ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญากรณีมีการดำเนินโครงการหรือทำธุรกิจร่วมกัน)

๔. ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิตามที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพร้อมทั้งทราบถึงสิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูล ดังนี้
๔.๑ สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม
ในกรณีที่พปส. ขอความยินยอมจากท่าน ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับ พปส. ได้ เว้นแต่การเพิกถอนความยินยอมจะมีข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
ทั้งนี้การเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย
๔.๒ สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลของท่านซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ พปส. รวมถึงขอให้ พปส. เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อ พปส. ได้
๔.๓ สิทธิในการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอให้ พปส.โอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับ พปส. ได้ตามที่กฎหมายกำหนด
๔.๔ สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวกับท่านสำหรับกรณีการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้ตามที่กฎหมายกำหนด
๔.๕ สิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอให้ พปส. ลบข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม พปส. อาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจมีบางระบบที่ไม่สามารถลบข้อมูลได้ ในกรณีเช่นนั้น พปส. จะจัดให้มีการทำลายหรือทำให้ข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
๔.๖ สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
ท่านมีสิทธิขอให้ พปส. ระงับการใช้ข้อมูลของท่านได้ตามที่กฎหมายกำหนด
๔.๗ สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
กรณีที่ท่านเห็นว่าข้อมูลที่ พปส. มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือท่านมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเอง ท่านมีสิทธิขอให้ พปส. แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
๔.๘ สิทธิในการร้องเรียน
ท่านมีสิทธิในการร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ หากพปส. ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
ทั้งนี้ การใช้สิทธิบางประการดังกล่าวข้างต้นอาจไม่สามารถทำได้หากเป็นข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือข้อสัญญา เช่น สิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากเป็นเรื่องที่จะต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาข้อเสนอในการจัดซื้อหรือจัดจ้างมิเช่นนั้นจะไม่สามารถติดต่อประสานงานกับท่านได้ เป็นต้น

ข้าพเจ้าได้อ่านรายละเอียดจากเอกสารชี้แจงข้อมูล หรือได้รับคำอธิบายจาก พปส. ถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผย (“ประมวลผล”) ข้อมูลส่วนบุคคล และมีความเข้าใจดีแล้ว และขอแสดงเจตนาแก่ พปส. ดังนี้