ผู้สูงอายุมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นและน้ำหนักลดลงในร่างกาย ทาให้ยาหลายชนิด มีระดับยาสูงขึ้นในร่างกาย อาจเกิดพิษได้ง่ายและยาออกฤทธิ์นานกว่าปกติ เมตาบอลิซึมของยาหรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ตับ มีขนาดเล็กลง เลือดมาเลี้ยงน้อยลง ทาให้มีโอกาสที่จะมียาคั่งค้างสูง การกาจัดยาทางไต ทาได้ลดลงเนื่องจากไตทำงานลดลงตามอายุ จึงอาจทำให้ขับยาออกจากร่างกายไม่ได้ มีความไวต่อยาบางชนิดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยาบางชนิดผู้สูงอายุกลับมีความไวต่อยาลดลง แม้ว่าร่างกายจะมีผลต่อการรับยา แต่ปัญหาหลักในการใช้ยาของผู้สูงอายุ กลับเป็นเรื่องของพฤติกรรมการใช้ยา ดังนั้น การใช้ยาให้ถูกต้อง จึงควรปฏิบัติดังนี้
1) ไม่ซื้อยากินเอง ควรกินยาตามแพทย์สั่ง หรือรับยาจากแหล่งเดิม หากไม่มั่นใจว่าชื่อตัวยาอะไร
2) ไม่รับยามาจากผู้อื่น เพราะยานั้นอาจใช้ไม่เหมาะสมกับโรค หรือตัวผู้สูงอายุเอง นอกจากนี้ ยานั้นอาจหมดอายุแล้วก็ได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย
3) ควรกินยาให้ตรงเวลา ใช้ยาตามแพทย์สั่ง และไม่หยุดกินยาเองเมื่ออาการดีขึ้น
4) ไม่ควรซื้อยาตามช่องทางออนไลน์
ตอนอื่นๆ
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : การดูแลผู้สูงอายุเมื่อมีอาการท้องผูก ท้องอืด และท้องเสีย (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : การเลิกใช้สารสเตียรอยด์ (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : การหลงลืมในผู้สูอายุ (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : ตัวช่วยการป้องกันการลืมกินยา (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : ผิวแห้งในผู้สูงอายุ (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : โฆษณาเกินจริงทำให้ผิดกฏหมาย
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : วิธีใช้สารสเตียรอยด์ให้ปลอดภัย (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : ต้องสงสัย เข้าข่ายมีสารสเตียรอยด์ (คำเมือง)
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : เพลง สารสเตียรอยด์
วัยเก๋า รู้เท่าทันสื่อ : สปอตสารสเตียรอยด์ (เสียงผู้สูงอายุ+ลูก)