แบบอย่างดีๆ ของภาคี Thailand EF Partnership ภาคเอกชน ร่วมสร้างโอกาสในการเผยแพร่ความรู้และส่งเสริมการพัฒนาทักษะสมอง EF สู่เด็กและเยาวชนของไทย
ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน EF ของ จ.ระยอง คือการประสานการทำงานในแนวราบ เพื่อกระจายเข้าถึงชุมชนและครอบครัวอย่างกว้างขวาง เชื่อมโยงเข้ากับการทำงานในระดับนโยบาย ใช้ความรู้เป็นแกนกลาง สร้างกระบวนการอบรมเชิงปฏิบัติการ สื่อสารและส่งคู่ขนานกันไปกับงานในแนวราบ มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ในระดับจังหวัด ที่ประกอบจากหลายๆ ภาคี ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และองค์กรท้องถิ่น มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สนับสนุนทั้งในเชิงนโยบายและหนุนช่วยการทำงานในพื้นที่ต่อองค์ความรู้ EF

การทำงานบนฐานความรู้เรื่องทักษะสมอง EF ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ได้รับการสนับสนุนเชิงวิชาการจากโครงการวิจัย โดย ดร.นุชนาฏ รักษี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าเมื่อส่งเสริมให้ครอบครัว พ่อแม่ ครู ชุมชน ตระหนักรู้ เข้าใจและส่งเสริม EF เด็กร่วมกัน จะเกิดการพัฒนาทักษะ EF ในตัวเด็กให้เพิ่มขึ้นถึง 38%
นี่คือโมเดลการขับเคลื่อน EF ระดับจังหวัดโดยการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของหน่วยงานภาคีภาคเอกชน ที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชนใน จ.ระยอง อย่างเป็นรูปธรรม

ตอนอื่นๆ

เนื้อหาใกล้เคียง